ความหมายของ “กราฟิก”
กราฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก 2 คำคือ Graphikos หมายถึง การวาดเขียน และคำว่า Graphein หมายถึง การเขียน ซึ่งเมื่อนำคำทั้ง 2 คำมารวมกัน กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งสื่อความหมายด้วยการใช้ศิลปะและศาสตร์ทางการใช้เส้น สัญลักษณ์ ภาพวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
ความหมายของ “คอมพิวเตอร์กราฟิก”
คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้างและการจัดการกับภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งการพัฒนาคอมพิวเตอร์กราฟิก เริ่มต้นมาจากการเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการแสดงข้อมูล ตัวเลข จํานวนมากๆ ให้อยู่ในรูปที่ชัดเจนและทําความเข้าใจได้ง่าย เช่น การแสดงข้อมูลด้วยรูปของเส้นกราฟ แผนภาพ แผนภูมิ แทนที่จะเป็นตารางของตัวเลข ปัจจุบันมีการใช้ภาพกราฟิก ในงานทุกๆ ด้าน เช่น ด้านธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม งานศิลปะ การบันเทิง งานโฆษณา การศึกษา การวิจัย การฝึกอบรม และงานทางการแพทย์ และในปัจจุบันคอมพิวเตอร์กราฟิก นั้นมีความสําคัญมาก เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ช่วยในงานออกแบบทางด้านกราฟิก ให้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือจํานวนมาก อีกทั้งผู้ออกแบบเองก็สามารถดูผลงานการออกแบบของตนเองได้ทันที
การเกิดภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์
รูปภาพต่างๆ ที่เราเห็นอยู่บนจอคอมพิวเตอร์นั้นเกิดจากการเรียงตัวของจุดสีที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ มากมายประกอบกันจนกลายเป็นภาพให้เรามองเห็น โดยจุดเล็กๆ แต่ละจุดนั้นต่างก็มีสีสันที่แตกต่างกันไป เราเรียกจุดสีจุดเล็กๆ เหล่านั้นว่า "พิกเซล" Pixel และพิกเซลนี่เองที่จะเป็นตัวกำหนดถึงความคมชัดของภาพแต่ละภาพ
ลักษณะและความหมายของพิกเซล (Pixel)
พิกเซล (Pixel) มาจากคําว่า Picture กับคําว่า Element เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือ จุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่รวมกันทําให้เกิดเป็นภาพขึ้น ภาพหนึ่งๆ จะประกอบด้วยพิกเซลหรือจุดมากมาย ซึ่งแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดหรือพิกเซลเหล่านี้แตกต่างกันออกไป ความละเอียด (Resolution) เป็นตัวบอกถึงความละเอียดของภาพ โดยมีหน่วยเป็นพีพีไอ ppi ย่อมาจาก (Pixels Per Inch) คือ จํานวนจุดต่อนิ้ว (dpi: คือ dot per inch) ภาพโดยทั่วไปจะกำหนดความละเอียด 100-150 พิกเซล และภาพที่มีความละเอียดสูงหรือ คุณภาพดี ควรมีค่าความละเอียด 300 X 300 ppi ขึ้นไป ค่า ppi สูงภาพจะมีความละเอียดคมชัดขึ้น การแสดงผลของอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) ตัวอย่างเช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) แบบดอตแมทริกช์ (Dot-matrix) หรือเลเซอร์ (Laser) รวมทั้งจอภาพ จะเป็นการแสดงผลแบบ Raster Devices คือ อาศัยการรวมกันของพิกเซลออกมาเป็นรูปการประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก
วิธีการประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก มี 2 แบบ คือ
1. การประมวลผลแบบ Raster หรือ Bitmap การประมวลผลแบบ Raster หรือ แบบบิตแมป (Bitmap) หรือเรียกว่าเป็นภาพแบบ Resolution Dependent ลักษณะสําคัญของภาพประเภทนี้ ประกอบขึ้นด้วยจุดสีต่างๆ ที่มีจํานวนคงที่ตายตัว ตามการสร้างภาพที่มีความละเอียดต่างกันไป ภาพแบบบิตแมปนี้ มี ข้อดี คือ เหมาะสําหรับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี หรือกําหนดสีที่ต้องการความละเอียดและสวยงาม ข้อจํากัด คือ เมื่อมีพิกเซลจํานวนคงที่ นําภาพมาขยายใหญ่ขึ้น ความละเอียดจะลดลง มองเห็นภาพเป็นแบบ จุด และถ้าเพิ่มความละเอียดให้แก่ภาพ จะทําให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ และเปลืองเนื้อที่หน่วยความจํามากในระบบวินโดวส์ (Windows) ไฟล์ของรูปภาพประเภทนี้ คือ ภาพที่มีนามสกุล (Extension) เป็น .BMP, .PCX, .TIF, .GIF, .JPG, .MSP, .PCD, .PCT โปรแกรมที่ใช้สร้างคือ โปรแกรมประเภทระบายภาพ (Painting Program) เช่น Paintbrush, Photoshop,Photostyler เป็นต้น
2. การประมวลผลแบบ Vector หรือ Object-Oriented Graphic หรือเรียกว่ารูปภาพ Resolution-Independent เป็นภาพที่มีลักษณะของการสร้างจากคอมพิวเตอร์ที่มีการสร้างให้แต่ละส่วนของภาพเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรงหรือส่วนโค้ง โดยอ้างอิงตามความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์หรือการคํานวณ ซึ่งมีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดโดยมีความละเอียดของภาพไม่ลดลง ภาพสามารถเปลี่ยนแปลงหรือย้ายได้โดยมีขนาดของไฟล์ที่เล็กกว่าบิตแมปในระบบวินโดวส์ ไฟล์รูปภาพประเภทนี้มีนามสกุลเป็น .EPS , .WMF, .CDR, .AI , .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น และโปรแกรมที่ใช้สร้างก็คือ โปรแกรมประเภทวาดรูป (Drawing Program) เช่น CorelDraw หรือ AutoCAD ส่วนบนเมคอินทอช (Macintosh) ก็ได้แก่ โปรแกรม IIIustrator และ Macromedia Freehand หรือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office
ภาพที่เป็นคอมพิวเตอร์กราฟิกมีลักษณะที่มีจุดเด่นจุดด้อยเปรียบเทียบกันระหว่างบิตแมปกับพวกเวกเตอร์ซึ่งต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานโดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงขนาดของรูป ภาพบิตแมปเป็นภาพที่มีจํานวนพิกเซลคงที่หากนํามาขยายมากๆ ภาพจะลดความละเอียดลง ส่วนภาพเวกเตอร์สามารถขยายขนาดได้โดยที่ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง แต่ขาดความสวยงาม ซึ่งภาพบิตแมปสามารถตกแต่งความละเอียดสวยงามได้ดีกว่า การนำมาใช้จะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้งานหรือลักษณะของงานที่ต้องการ อย่างไรก็ตามอุปกรณ์แสดงผลไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์หรือเลเซอร์ รวมทั้งจอภาพ จะเป็นการแสดงผลเป็นแบบ Raster Devices หรือแสดงในรูปของบิตแมป ซึ่งอาศัยการรวมกันของพิกเซลออกมาเป็นรูป แม้ว่าจะเป็นกราฟิกที่สร้างเป็นแบบเวกเตอร์แต่เมื่อนำมาแสดงผลผ่านจอภาพหรือนำมาพิมพ์ จะแสดงผลเป็นแบบบิตแมปเสมอ
โหมดสี (Color Mode)
การจัดการกับภาพในระบบ Digital ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในงานต่างๆ กันไป จะมีโหมดสีอยู่ด้วยกัน ทั้งหมด 8 โหมด คือ Bitmap , Grayscale , Duotone , Indexed Color RGB , CMYK , Lab Color และ Multichannel
1. Bitmap โหมด สีที่มีการเก็บข้อมูลสีเดียว 1 Bit ต่อ Pixel ซึ่งจะทำให้รูปในโหมดนี้มีเพียง สีขาวสีดำเท่านั้น ไม่สามารถไล่เฉดสีจึงทำให้ภาพหยาบมากและไม่สามารถตกแต่งได้ ข้อดีของโหมดภาพแบบนี้คือ มีขนาดที่เล็กมาก สามารถใช้สร้างภาพลายเส้น หรือโลโกที่ไม่ต้องการสีสัน
2. Grayscale โหมดสำหรับภาพขาวดำ สามารถไล่เฉดสีได้ทำให้ภาพมีความคมชัดกว่า Bitmap มาก สามารถใช้กับเครื่องมือใน Photoshop ได้แทบทุกตัว
3. Duotone โหมดสีที่สามารถปรับความคมชัดและเฉดสีของภาพแบบ Grayscale ให้มีความหลากหลายมากขึ้น สามารถใช้สีอื่น ๆ เข้ามาเสริมในสีดำ ทำให้ภาพมีความน่าสนใจขึ้น
4. Indexed Color โหมด สีที่จำกัดไว้เพียง 256 สี โดย Photoshop จะปรับสีให้ใกล้เคียงกับสีที่กำหนดไว้ทั้ง 256 สีที่ถูกกำหนดไว้แล้ว ซึ่งจะทำให้ขนาดของภาพไม่ใหญ่มาก และยังคงคุณสมบัติของภาพไว้อย่างครบถ้วน
5. RGB Color โหมดสีที่ถอดคุณสมบัติของภาพแบบ RGB มาสร้างเป็นโหมดภาพ โดยมีสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงินโดยแต่ละสีจะไล่ได้ 256 ระดับ โดยใช้หลักการการรวมแสงสี ซึ่งสามารถสร้างสีได้สูงสุด 16.7 ล้านสี หลักการแสดงสีของ จอคอมพิวเตอร์นั้นจะแสดงเป็น RGB อยู่แล้ว ฉะนั้น ไม่ว่าจะเลือกโหมดการทำงานใดก็ตาม การแสดงผลบนจอภาพก็จะใช้เป็น RGB อยู่เช่นเดิม
6. CMYK โหมดมาตรฐานสำหรับเครื่องพิมพ์ โดยแบ่งสีเป็น 4 สีหลักได้แก่ สีฟ้า สีแดง สีเหลือง และสีดำ โดยในแต่ละสีจะมีค่า 8 Bit ซึ่งทำให้ในแต่ละ Pixel จะเก็บค่าถึง 32 Bit ในโหมดนี้ Photoshop จัดเตรียมสำหรับภาพที่ใช้ในการพิมพ์ โดยแก้ไขจุดบกพร่องของโหมดสี RGB ที่เครื่องพิมพ์ไม่สามารถพิมพ์สีบางสีออกไปได้
7. Lab Color เป็นโหมดสีที่มีความเหมือนจริงที่สุด สำหรับงานพิมพ์ที่เป็น Photo CD หรือภาพที่ต้องการใช้งานระหว่าง ระบบคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน
8. Multichannel การเก็บสีจำนวน 8 Bit ต่อ Pixel ทำให้มีความจำกัดของจำนวนสี ใช้กับการพิมพ์แบบพิเศษที่ไม่ต้องการความละเอียด และสีที่ฉูดฉาดมากนัก
จิตวิทยาเกี่ยวกับสี
สีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบการทำงานกราฟิกต่างๆ การเลือกสีให้เข้ากับเนื้อหาของงานจะทำให้งานที่ทำออกมามีความน่าเชื่อถือ ยิ่งขึ้นและยังส่งผลอย่างมากกับความสวยงามของงานที่ออกมาด้วย
ภาพวงจรของสี
- สีฟ้า ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ สง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตนสามารถลดความตื่นเต้น และช่วยทำให้มีสมาธิ
- สีเหลือง เป็นสีแห่งความเบิกบาน เร้าอารมณ์ เรียกร้องความสนใจ ให้ความรู้สึกแจ่มใส ความสดใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสุกสว่าง การแผ่กระจาย อำนาจบารมี ให้ลองสังเกตดูว่า วันที่ท้องฟ้ามืดครื้มปราศจากแสงแดด เราจะรู้สึกหงอยเหงา หดหู่ แต่พอมีแสงแดด ท้องฟ้าสว่าง มีสีเหลือง เราจะรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้น
- สีแดง เป็น สีที่สร้างความตื่นเต้น และกระตุ้นสมอง สีแดงปานกลางแสดงถึงความมีสุขภาพดี ความมีชีวิต ความรัก ความสำคัญ ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง สีแดงจัดมีความหมายแฝงด้านกามารมณ์ นอกจากนี้สีแดงยังสร้างความรู้สึกรุนแรง ให้ความรู้สึกร้อน กระตุ้น ท้าทาย ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง ตื่นเต้น หรืออันตราย
- สีม่วง ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ มีพลังแฝงอยู่ ความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์เป็นสีที่ปลอบโยน และช่วยลดความเครียด
- สีเขียว เป็นสีในวรรณะเย็น จะสร้างความรู้สึกเย็นสบาย ใช้เป็นสีที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด ให้ความรู้สึก สงบ เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน การผ่อนคลาย ธรรมชาติ ความปลอดภัย ความสุข ความสุขุม เยือกเย็น
- สีส้ม ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว การระวัง เป็นสีที่เร้าความรู้สึกปรกติควรใช้แต่น้อยเมื่อเทียบกับสีอื่น สังเกตว่าคนที่อยู่ในห้องสีส้มจะอยู่ได้ไม่นาน
- สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกอบอุ่น ได้พักผ่อน แต่ควรใช้ร่วมกับสีส้ม เหลือง หรือสีทอง เพราะถ้าใช้สีน้ำตาลเพียงสีเดียว อาจทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่ได้
- สีเทา ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ สุภาพ สุขุม ถ่อมตน สีนี้มีข้อดีคือทำให้เย็น แต่สร้างความรู้สึกหม่นหมองได้ ควรใช้ร่วมกับสีที่มีชีวิต โทนสว่างอย่างน้อยหนึ่งสี
- สีขาว ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์ สะอาด สดใส เบาบาง อ่อนโยน เปิดเผย การเกิด ความรัก ความหวัง ความจริง ความเมตตา ความศรัทธา ความดีงาม ให้ความรู้สึกรื่นเริง โดยเฉพาะเมื่อใช้กับสีแดง เหลือง และส้ม
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุดได้มีการประกาศใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 ซึ่งเป็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 สำหรับคนที่ต้องใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นประจำ หรือทำงานเกี่ยวกับโลกออกไลน์ต้องพึงรู้ไว้เลยค่ะ เพราะหากใช้ไม่ระวัง เราอาจจะเผลอทำผิดกฎหมายได้ วันนี้เราเลยมาฟื้นความจำอีกครั้ง มาดูกันสักหน่อยว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร การกระทำอะไรที่อาจผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่ พ.ร.บ.กำหนดไว้ ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้ เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกันค่ะ หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีกี่ฉบับ
ประเทศไทย มี พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาแล้ว 2 ฉบับ คือ ฉบับแรก ปี 2550 และ ฉบับสอง ปี 2560 โดย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด คือ ฉบับปี 2560 ความแตกต่างสำคัญระหว่างฉบับปี 2560 กับ 2550 คือ แก้ไขมิให้ “ความผิดหมิ่นประมาท” เป็นความผิดตาม พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ อีกต่อไป เพราะในอดีต ความผิดหมิ่นประมาท ถือว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ซึ่งกฎหมายระบุว่า ไม่สามารถยอมความได้ ดังนั้นแม้ต่อมา คู่ความจะเจรจายอมความสำเร็จ หรืออยากถอนฟ้อง ศาลก็ไม่สามารถใช้ดุลพิจนิจที่จะไม่ลงโทษคู่ความได้ ส่งผลให้มีคดีฟ้องร้องขึ้นศาลจำนวนมากและเกิดปัญหาทางปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงมีการนำ “ความผิดหมิ่นประมาท” ออกจาก พรบ คอมพิวเตอร์ แต่ไปบังคับใช้ด้วยประมวลกฎหมายอาญาแทน ทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560 [ฉบับล่าสุด] มีกี่หมวด กี่มาตรา
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 [ฉบับล่าสุด] มีอยู่ 2 หมวด โดยหมวดที่เกี่ยวข้องกับประชาชนคือ หมวด 1 “ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” เพราะเป็นหมวดที่บอกว่า พฤติกรรมใดที่มีความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมีบทลงโทษอะไรอย่างไร โดยหมวด 1 มีมาตราที่ควรสนใจทั้งหมด 11 มาตราดังนี้
**ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลทุก ๆ แหล่งที่มา รวมไปถึงเจ้าของสื่อการเรียนรู้ทุกชิ้นเป็นอย่างสูง**