แบบทดสอบก่อนเรียน

ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 

เพื่อวัดความรู้พื้นฐาน

แบบทดสอบหลังเรียน

ทำแบบทดสอบหลังเรียน 

เพื่อวัดความรู้ที่ได้รับหลังเรียน

ข้อมูลมีคุณค่า

“ในยุคของข้อมูลและสารสนเทศ มีปริมาณข้อมูลเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากผู้ใช้ที่มีอยู่ทั่วโลกจำนวนมาก ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาล มีการใช้ศาสตร์ที่เรียกว่า วิทยาการข้อมูล (data science) ซึ่งมีความสำคัญและช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายของข้อมูล และในขณะเดียวกันผู้ใช้จะได้รับความรู้จากข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิทยาการข้อมูลด้วย”

   ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ (Information Age) ในยุคของข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลสิ่งที่มีความส าคัญอย่างยิ่ง ถูกน ามาใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การเกษตร และการคมนาคม การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิม ทำให้การนำข้อมูลมาใช้ไม่สะดวก ไม่ทันกาล สูญหายง่ายการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (digitization) และการพัฒนาการของการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้ทุกที่ทุกเวลาแผนที่กระดาษในรูปแบบเดิม ไม่สามารถแสดงข้อมูลการจราจรที่เป็นปัจจุบัน และไม่สามารถวางแผนการเดินทางได้ แต่ระบบแผนที่นำทาง (Global Positioning System: GPS) นอกจากแสดงสถานที่ต่าง ๆ แล้ว ยังมีข้อมูลสภาพการจราจร ระยะเวลาเดินทาง ซึ่งมีความแม่นยำ ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน เราไม่เป็นเพียงผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมสร้างข้อมูลดิจิทัลด้วยเช่นกัน 

   การอัพโหลดรูปภาพส่วนตัว การส่งอีเมล์ในแต่ละวัน การโพสต์ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ การส่งต่อข้อความผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้ ผู้ใช้คนอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้จัดได้ว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่มีความสำคัญ แต่หากข้อมูลที่มีอยู่ไม่ได้ถูกนำมาประมวลผล ก็จะไม่เกิดคุณค่าใด ๆ ดังคำกว่าวที่ว่า “ข้อมูลนั้นมีค่าดั่งน้ำมันดิบ”

   บริษัทต่าง ๆ นำข้อมูลดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ทำให้เกิดมูลค่ามหาศาล เช่น บริษัทให้บริการจองโรงแรมที่พัก แท็กซี่ ขายสินค้าออนไลน์ และบริการสื่อสังคม (social media) เฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นบริษัทให้บริการสื่อสังคม มีผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่สามารถสร้างรายได้จากการขายโฆษณาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย (usertargeted advertisements) ของบริษัทสินค้าและบริการ

เฟซบุ๊กดักฟังเราจริงหรือ ? ไขความจริงเบื้องหลังระบบโฆษณาเฟซบุ๊ก

เฟซบุ๊ก รวบรวมข้อมูลผู้ใช้ เช่น เพศ อายุ ที่อยู่ อาชีพ รวมถึงพฤติกรรมการใช้งานที่ผู้ใช้กระทำผ่านเฟซบุ๊ก ได้แก่ การกดไลค์ (like) กดแชร์ (share) เฟซบุ๊ก นำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผลเป็นสารสนเทศที่บอกคุณลักษณะของผู้ใช้ และใช้สารสนเทศนี้ในการนำเสนอหรือโฆษณาสินค้าหรือบริการ บริษัทเจ้าของสินค้าหรือบริการ จะจ่ายค่าโฆษณาให้กับเฟซบุ๊ก เช่น บริษัทธุรกิจรถยนต์ ธนาคาร อาหาร-เครื่องดื่ม โทรศัพท์มือถือ ร้านค้า เกมออนไลน์ การนำข้อมูลดิจิทัลท ี่มีอยู่มหาศาลมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ความรู้ทางด้านวิทยาการข้อมูลจึงมีบทบาทสำคัญ และอาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจึงมีบทบาทสำคัญ เป็นอาชีพที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคของข้อมูลและสารสนเทศ

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ในหนังสือเรียนวิทยาการคำนวณ 5 : shorturl.at/cmnMV 

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) คืออะไร ? มีกี่วิธี มีขั้นตอนการทำอย่างไร

    ทำความรู้จักกับการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือ Data Collection อีกหนึ่งกระบวนการที่มีความสำคัญสำหรับการทำธุรกิจ การทำวิจัย หรือการทำแบบสำรวจ เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็แล้วแต่ จำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลที่ถูกต้องมาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สามารถนำไปใช้งานได้ต่อไป 

    บทนี้จึงทำการสรุปข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งในด้านความหมาย ประเภท แหล่งที่มาที่จะได้มาซึ่งข้อความ วิธีการเก็บและรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพว่าทำอย่างไรได้บ้าง มาดูกันดีกว่าว่า ข้อมูลเหล่านี้มีเรื่องอะไรที่นักวิจัย นักการตลาด หรือนักวิเคราะห์จะต้องรู้บ้าง ตามไปดูพร้อมกันเลย

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) คืออะไร ?

    การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) คือ การเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่ และการรวบรวมข้อมูลของตัวแปรหรือเหตุการณ์ที่เราสนใจอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะนำไปวิเคราะห์หาคำตอบที่ถูกต้อง ในรูปแบบที่เหมาะสมอาจเป็นได้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การทำแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ เป็นต้น

ประเภทของข้อมูลจากการเก็บข้อมูล

    Quantitative Data (ข้อมูลเชิงปริมาณ)

Quantitative Data (ข้อมูลเชิงปริมาณ) คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลออกมาในเชิงตัวเลข (Numerical data) เพื่อแสดงปริมาณของสิ่งที่นับหรือสิ่งที่วัดได้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

       1. ข้อมูลปริมาณแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) เป็นข้อมูลที่มีค่าต่อเนื่องกันในช่วงที่กำหนด เช่น อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง เป็นต้น

 2. ข้อมูลเชิงปริมาณแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) เป็นข้อมูลจำนวนเต็มหรือจำนวนนับ เช่น จำนวนรถยนต์ในกรุงเทพฯ จำนวนนักศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เป็นต้น

   Qualitative Data (ข้อมูลเชิงคุณภาพ)

Qualitative Data (ข้อมูลเชิงคุณภาพ) คือ ข้อมูลที่ไม่สามารถวัดค่าได้ด้วยตัวเลขว่ามากหรือน้อย แต่จะเป็นข้อมูลที่แสดงถึงสถานภาพ คุณลักษณะ ทัศนคติ หรือคุณสมบัติ มักจะอยู่ในรูปแบบของคำพูด การบรรยาย การอธิบาย ตัวหนังสือ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สีต่างๆ สถานที่ที่ชอบไป เชื้อชาติ สถานภาพสมรส ศาสนา กลุ่มเลือด เป็นต้น

แหล่งที่มาของข้อมูลมีแบบใดบ้าง ?

   Primary Data (ข้อมูลปฐมภูมิ)

Primary Data (ข้อมูลปฐมภูมิ) คือ ข้อมูลที่เก็บจากแหล่งกำเนิดข้อมูลโดยตรง ซึ่งจะใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิด้วยการ ออกแบบสอบถาม , การสัมภาษณ์, การสำรวจ , การสังเกตการณ์ เป็นต้น ทำให้ได้รายละเอียดตามที่นักการตลาด ผู้วิจัย หรือผู้สอบถามข้อมูลต้องการ แต่ก็จะเสียเวลาในการเก็บข้อมูลค่อนข้างมากและมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิ

   Secondary Data (ข้อมูลทุติยภูมิ)

Secondary Data (ข้อมูลทุติยภูมิ) คือ ข้อมูลที่ผู้ต้องการใช้ไม่ได้ทำการเก็บรวบรวมเอง แต่ได้จากผู้อื่นที่ทำการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อนแล้ว ซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจะได้จากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น รายงานที่ตีพิมพ์แล้ว การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ กราฟต่างๆ เป็นต้น มีข้อดีคือค้นหาง่าย ช่วยย่นระยะเวลาในการเก็บข้อมูล แต่ก็มีข้อจำกัดคือข้อมูลอาจไม่ตรงกับที่ต้องการทั้งหมด หรือเสี่ยงต่อการหยิบใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้ง่ายด้วย

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล Data Collection ทำได้อย่างไร

Primary Data (ข้อมูลปฐมภูมิ) คือ ข้อมูลที่เก็บจากแหล่งกำเนิดข้อมูลโดยตรง ซึ่งจะใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิด้วยการ ออกแบบสอบถาม , การสัมภาษณ์, การสำรวจ , การสังเกตการณ์ เป็นต้น ทำให้ได้รายละเอียดตามที่นักการตลาด ผู้วิจัย หรือผู้สอบถามข้อมูลต้องการ แต่ก็จะเสียเวลาในการเก็บข้อมูลค่อนข้างมากและมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิ

Questionnaires (แบบสอบถาม)

แบบสอบถาม (Questionnaires) เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมา โดยที่ผู้ตอบแบบสอบจะได้รับชุดคำถาม ทั้งแบบปลายเปิดและแบบปลายปิด อาจจะออกแบบมาเป็นแบบสอนถาม ออนไลน์ หรือออฟไลน์ก็ได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจากแบบสอบถามและการทดลองมีแหล่งข้อมูลแบบข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ที่มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันสูง รวมถึงสามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว และทำการสอบถามได้ครั้งละหลายๆ คนในชุดคำถามเดียวกัน

Interview (การสัมภาษณ์)

การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ที่นิยมใช้กันมากในด้านสังคมศาสตร์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยรูปแบบนี้สามารถทำได้หลายแบ บ เช่น การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว การสนทนากลุ่ม ( Focus Group) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) มีข้อดีคือสามารถอ่านความรู้สึกนึกคิดและสังเกตสภาพการณ์ต่างๆ จากตัวผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ จึงเจาะลึกเนื้อหาเฉพาะเรื่องที่สนใจได้ดี ทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่ผู้สัมภาษณ์เองก็ต้องมีทักษะสูงในการหาคำตอบ รวมถึงใช้เวลานานกว่าจะได้ข้อมูลครบตามที่ต้องการ

Focus Group (การสนทนากลุ่ม)

การสนทนากลุ่ม (Focus Group) เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ประเภทหนึ่ง อาจจะประกอบด้วยคนตั้งแต่ 6 - 10 คน นำโดยผู้สัมภาษณ์ที่จะเข้ามาดำเนินการให้ผู้ถูกสัมภาษณ์อภิปรายกันในประเด็นที่ต้องการ

Observation (การสังเกตการณ์)

การสังเกตการณ์ (Observation) เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ที่ทำได้ง่ายและรวดเร็ว โดยการสังเกตการณ์เองโดยตรง และไม่มีการบุกรุกหรืออคติจากบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังใช้วิธีนี้ในการสังเกตทั้งคน สัตว์ สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อมได้ แต่จะใช้ได้ผลเฉพาะในสถานการณ์ขนาดเล็กเท่านั้น

Experiment (การวิจัยเชิงทดลอง)

การวิจัยเชิงทดลอง (Experiment) เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ที่เน้นกระบวนการค้นหาความเป็นจริง ความเป็นเหตุและผล โดยการควบคุมตัวแปรอื่นๆทั้งหมดที่จะมีผลต่อตัวแปรตาม ยกเว้นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรทดลองที่ไม่ต้องควบคุม

Secondary Data Collection (การเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ)

การเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data Collection) จะไม่เหมือนกับการเก็บข้อมูลแบบ Primary Data (ข้อมูลปฐมภูมิ) ที่ต้องลงมือเก็บด้วยตัวเอง แต่จะสามารถรวบรวมข้อมูลได้จากแหล่งต่างๆ เช่น

1. งบการเงินของนิติบุคคล

2. รายงานการขายของฝ่ายขาย

3. ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ อายุ ข้อมูลติดต่อ

4. รายงานการศึกษาวิจัยที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว

5. รายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

6. รายงานสำรวจของรัฐบาล เช่น สำมะโนครัว ภาษี ข้อมูลประกันสังคม ข้อมูลบัญชีประชาชาติ

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล Data Collection

1. กำหนดเป้าหมายในการรวบรวมข้อมูล จากวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายจากปัญหาของธุรกิจ หรืองานวิจัยที่ต้องการศึกษา

2. ออกแบบเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ

3. ระบุกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการสำรวจข้อมูล จำนวนการสำรวจ เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง รวมถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่จะต้องสำรวจ

4. จัดทำแผนรวบรวมข้อมูล โดยกำหนดวันเวลาสำรวจ ทีมสำรวจ ระยะเวลาสำรวจ เป็นต้น

5. จัดหาทีมสำรวจแล้วทำการอบรมให้เข้าใจวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง การอธิบายแบบสอบถาม และวิธีการสำรวจ ในกรณีใช้แบบสอบถามออนไลน์ก็จะสะดวกในการสำรวจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งวิธีการรวบรวมข้อมูล

6. ดำเนินการรวบรวมข้อมูล (Data Collection) จากกลุ่มตัวอย่างหรือแหล่งตามที่กำหนดไว้

7. รวบรวมแบบสอบถามที่ตอบแล้ว รวมถึงข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ เพื่อนำมาวิเคราะห์ (Data analysis ) และหาผลลัพธ์หรือข้อสรุปในการทำวิจัย จัดทำทำรายงาน จัดทำค่าสถิติ ฯลฯ 

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ในหนังสือเรียนวิทยาการคำนวณ 5 : shorturl.at/cmnMV 

การประมวลผลข้อมูล คืออะไร ? และมีลักษณะอย่างไรบ้าง 

       ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง (fact) ที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งสามารถบันทึกไว้อย่างต่อเนื่องและมีความหมายอยู่ในตัว เช่น ชื่อนักเรียน อายุ เพศ จำนวนประชากร ปริมาณน้ำฝน เป็นต้น ข้อมูลจะมีอยู่จำนวนมาก และจะถูกนำไปประมวลผลเพื่อใช้ประโยชน์ในเรื่องต่าง ๆ ได้มากมาย

แหล่งที่มาของข้อมูลมีแบบใดบ้าง ?

   Primary Data (ข้อมูลปฐมภูมิ)

Primary Data (ข้อมูลปฐมภูมิ) คือ ข้อมูลที่เก็บจากแหล่งกำเนิดข้อมูลโดยตรง ซึ่งจะใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิด้วยการ ออกแบบสอบถาม , การสัมภาษณ์, การสำรวจ , การสังเกตการณ์ เป็นต้น ทำให้ได้รายละเอียดตามที่นักการตลาด ผู้วิจัย หรือผู้สอบถามข้อมูลต้องการ แต่ก็จะเสียเวลาในการเก็บข้อมูลค่อนข้างมากและมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิ

   Secondary Data (ข้อมูลทุติยภูมิ)

Secondary Data (ข้อมูลทุติยภูมิ) คือ ข้อมูลที่ผู้ต้องการใช้ไม่ได้ทำการเก็บรวบรวมเอง แต่ได้จากผู้อื่นที่ทำการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อนแล้ว ซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจะได้จากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น รายงานที่ตีพิมพ์แล้ว การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ กราฟต่างๆ เป็นต้น มีข้อดีคือค้นหาง่าย ช่วยย่นระยะเวลาในการเก็บข้อมูล แต่ก็มีข้อจำกัดคือข้อมูลอาจไม่ตรงกับที่ต้องการทั้งหมด หรือเสี่ยงต่อการหยิบใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้ง่ายด้วย

การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์

การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและนามสกุลของข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งจะตั้งตามประเภทของข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้สร้างข้อมูล ได้แก่

- ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) เช่น ตัวหนังสือ ตัวเลข และสัญลักษณ์ ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายไฟล์เป็น .txt และ .doc

- ข้อมูลภาพ (Image Data) เช่น ภาพกราฟิกต่างๆ และภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายไฟล์เป็น .bmp .gif และ .jpg

- ข้อมูลเสียง (Sound Data) เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี และเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .wav .mp3 

- ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) เช่นภาพเคลื่อนไหว ภาพมิวสิควีดิโอ ภาพยนตร์ คลิปวีดีโอ ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .avi .mov

การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์

การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก แต่มุ่งเน้นพิจารณาการแบ่งประเภทตามการนำข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่

- ข้อมูลเชิงจำนวน (Numeric Data) มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้ เช่น จำนวนเงินในกระเป๋า จำนวนค่าโดยสารรถประจำทาง และจำนวนนักเรียนในห้องเรียน

- ข้อมูลอักขระ (Character Data) มีลักษณะเป็นตัวอักษร ตัวหนังสือ และสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูลและเรียงลำดับได้แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บ้าน และชื่อของนักเรียน

- ข้อมูลกราฟิก (Graphical Data) เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่ เช่น เครื่องหมายการค้า แบบก่อสร้างอาคาร และกราฟ

- ข้อมูลภาพลักษณ์ (Image Data) เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์เป็นหลัก ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล ย่อหรือขยาย และตัดต่อได้ แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณหรือดำเนินการอย่างอื่นได้

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ในหนังสือเรียนวิทยาการคำนวณ 5 : shorturl.at/cmnMV 

กระบวนการวิทยาการข้อมูล

กระบวนการวิทยาการข้อมูล (data science process)  เป็นขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมเพื่อไม่ให้สับสนหรือพลาดประเด็น นักเรียนสามารถดำเนินการตามกระบวนการของวิทยาการข้อมูลที่ระบุขั้นตอนสำคัญต่าง ๆ ที่ประกอบด้วย การตั้งคำถาม  การเก็บรวบรวมข้อมูล การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล  การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เป็นภาพ นักเรียนสามารถดำเนินการตามกระบวนการได้ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การตั้งคำถาม (ask an interesting question)

ขั้นตอนที่ 1 การตั้งคำถาม (ask an interesting question) คือ ตั้งคำถามที่ตนเองสนใจเป็นกระบวนการวิทยาการข้อมูลขั้นตอนแรกในการดำเนินกิจกรรม การตั้งคำถาม เช่น กรมควบคุมโรคต้องการวางแผนเกี่ยวกับการรับมือโรคไข้หวัดใหญ่ ในปีถัดไปเพื่อเป็นการสำรองยาและเวชภัณฑ์ อีกทั้งเป็นการบริหารจัดการวัคซีนของกรมควบคุมโรค เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูล (get the data)

ขั้นตอนที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูล (get the data) คือ ต้องคำนึกถึงว่าจะเก็บข้อมูลเรื่องอะไร จากที่ไหนจำนวนเท่าใด และความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จะต้องทำการตรวจสอบ ขจัดข้อมูลที่ผิด หรือข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลนำเข้าที่ดี ไปสู่ผลที่ดี เหมือนกับประโยคที่ว่า “garbage in garbage out” เช่น จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคในทุกปีในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายนของทุกปี ซึ่งจะมีผู้ติดเชื้อสูงมากในทุกภาคของประเทศ

ขั้นตอนที่ 3 การสำรวจข้อมูล (explore the date)

ขั้นตอนที่ 3 การสำรวจข้อมูล (explore the date) คือ เป็นการทำความเข้าใจรูปแบบ และค่าของข้อมูล ในขึ้นตอนนี้เราจะต้องรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมมาพล็อต (plot) ทำให้เป็นภาพ (visualizations) หรือแผนภูมิ (charts) เพื่อให้มองเห็นความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ของข้อมูลผ่านกราฟ ซึ่งอาจพบความผิดปกติของข้อมูลได้ โดยนำเสนอในรูปแบบเส้นกราฟแนวโน้ม หรือ แผนภูมิแท่งในการนำเสนอข้อมูลผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในทุก ๆ ของปีก่อน

ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล (analyze the data)

ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล (analyze the data) คือ เพื่ออธิบายความหมาย ความสัมพันธ์ของข้อมูล และทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยต้องการทำนายว่าในอนาคตหากเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ควรสำรองยาและเวชภัณฑ์ รวมถึงเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ให้เพียงพอในช่วงเวลานั้น

การวิเคราะห์ข้อมูลจึงเป็นการเปลี่ยนข้อมูลให้มีคุณค่า โดยนำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์มาใช้ประโยชน์ โดยสามารถหาได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล 3 ประเภท ดังนี้

1. การวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) เป็นการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน ที่ทำให้เห็นภาพรวมของข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ช่วยอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงที่ผ่านมา เพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น การทำรายงานยอดขายรายเดือนของห้างสรรพสินค้า ปัจจัยในการซื้อซ้ำของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

2. การวิเคราะห์เชิงทำนาย (Predictive Analysis) เป็นการวิเคราะห์ที่ช่วยในการคาดการณ์ หรือทำนายสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ข้อมูลในอดีตมาช่วยในการทำนาย การทราบถึงความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้บุคคลหรือองค์กรสามารถวางแผนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพได้ เช่น การคาดการณ์ยอดขายในเทศกาลต่าง ๆ ทำให้ร้านค้าทราบถึงปริมาณสินค้าที่ควรจะสั่งซื้อ หรือจัดเก็บให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า

3. การวิเคราะห์เชิงแนะนำ (Prescriptive Analysis) เป็นการวิเคราะห์ต่อยอดจากการทำนายผลที่น่าจะเกิดขึ้น โดยการจำลองทางเลือกที่เป็นไปได้ของสถานการณ์ (Simulation) และคาดการณ์ผลที่ได้ของแต่ละสถานการณ์ เพื่อแนะนำทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์ที่จะเป็นไปได้ เช่น การเลือกวิธีโฆษณาสินค้าที่จะทำให้ยอดขายสูงที่สุด

กล่าวคือ การวิเคราะห์ข้อมูลนอกจากจะทำให้เห็นภาพรวมของข้อมูลแล้ว ยังช่วยในการคาดการณ์ผลในอนาคตและแนะนำทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตัดสินใจของบุคคลหรือองค์กร โดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนาเป็นการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์เชิงทำนายเป็นการวิเคราะห์เพื่อทำนายสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนการวิเคราะห์เชิงแนะนำเป็นการวิเคราะห์ที่ต่อยอดมาจากการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงทำนาย โดยใช้ทักษะการแก้ปัญหาและวางแผน

ขั้นตอนที่ 5 การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เป็นภาพ (communicate and visualize the results)

ขั้นตอนที่ 5 การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เป็นภาพ (communicate and visualize the results) คือ เป็นการสื่อสารผลลัพธ์ของข้อมูลโดยการถ่ายทอดเป็นเรื่องราวหรือเป็นภาพให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากข้อมูล โดยข้อมูลที่จะนำไปประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ให้แก่ผู้รับสารได้รับรู้ถึงสิ่งที่ผู้สร้างต้องการสื่อสาร ให้เข้าใจตรงกัน เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะผู้สร้างจะต้องพยายามศึกษาว่า ข้อมูลส่วนไหนสำคัญ ข้อมูลส่วนไหนมีรูปแบบที่น่าสนใจ หากเป็นตัวเลขจำนวนมาก ผู้ที่พยายามจะทำความเข้าใจข้อมูลนั้น ๆ อาจต้องใช้เวลานาน หรืออาจทำให้ไม่สามารถมองเห็นความรู้ หรือประเด็นสำคัญที่อยู่ภายใต้ข้อมูลนั้น ๆ ได้ แต่วิธีหนึ่งที่จะทำให้ผู้รับสารรับรู้สิ่งที่ผู้สร้างต้องการสื่อสารคือการใช้ภาพ

การสื่อสารด้วยข้อมูล เป็นการถ่ายทอดข้อมูลหรือการสื่อสารจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับสารนั้น บางครั้งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก จำเป็นที่จะต้องจัดรูปแบบของข้อมูล และนำเสนอข้อมูลไปแสดงในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจ หรือมองเห็นประเด็นสำคัญ

การทำข้อมูลให้เป็นภาพ ข้อมูลที่เราได้มานั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของจำนวน และมีเป็นจำนวนมาก แม้ว่าการตอบคำถามที่เราสนใจ หรือสิ่งที่เราอยากจะนำเสนอ จะมีอยู่แล้วในข้อมูลเหล่านั้น แต่ก็ยากที่จะทำความเข้าใจ หรืออาจสื่อสารได้โดยง่าย  เช่น ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบตารางถึงแม้จะจัดการนำเสนอข้อมูลแล้ว แต่ตัวเลขที่มีปริมาณมาก เราไม่สามารถเห็นเป็นภาพที่แสดงปริมาณมากน้อยได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำข้อมูลที่อยู่ในตารางเหล่านั้นทำให้เป็นภาพ โดยอาจจะใช้แผนภูมิวงกลม แผนภูมิแท่ง กราฟเส้น หรือในรูปอินโฟกราฟิกอื่น เป็นต้น

กระบวนการวิทยาการข้อมูลจึงประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ การตั้งคำถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล     การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เป็นภาพ จึงทำให้การดำเนินกิจกรรมประสบความสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพ

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ในหนังสือเรียนวิทยาการคำนวณ 5 : shorturl.at/cmnMV 

**ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลทุก ๆ แหล่งที่มา รวมไปถึงเจ้าของสื่อการเรียนรู้ทุกชิ้นเป็นอย่างสูง**