แบบทดสอบก่อนเรียน

ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 

เพื่อวัดความรู้พื้นฐาน

แบบทดสอบหลังเรียน

ทำแบบทดสอบหลังเรียน 

เพื่อวัดความรู้ที่ได้รับหลังเรียน

Android คืออะไร

Android คือ ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น โดยแอนดรอยด์ (Android) ถูกตั้งชื่อเลียนแบบหุ่นยนต์ในเรื่อง สตาร์วอร์ส ที่ชื่อดรอยด์ ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาเลียนแบบมนุษย์เป็นซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการที่มีโครงสร้างแบบเรียงทับซ้อนหรือแบบสแต็ก (Stack) โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล (Linux Kernel) เป็นพื้นฐานของระบบ และใช้ภาษา Java ในการพัฒนา มี Android SDK เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ อีกทีหนึ่ง โดยระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยบริษัทแอนดรอย์ดร่วมกับ Google จากั้นเมื่อปี พ.ศ.2550 ได้มีการร่วมมือกันกว่า 30 บริษัทชั้นนำเพื่อพัฒนาระบบ

ประเภทของชุดซอฟท์แวร์ เนื่องจากแอนดรอยด์ (Android) เปิดให้นักพัฒนาเข้าไปชมรหัสต้นฉบับได้ทำให้มีผู้พัฒนาจากหลายฝ่ายนำเอารหัสต้นฉบับมาปรับแต่ง และสร้างแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตนเองขึ้นสามารถแบ่งประเภทของแอนดรอยด์ออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. Android Open SourceProject (AOSP) เป็นแอนดรอยด์ประเภทแรกที่กูเกิล (Google) เปิดให้สามารถนำต้นฉบับแบบเปิด ไปติดตั้งและใช้งานในอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

2. Open Handset Mobile (OHM) เป็นแอนดรอยด์ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์พกพา ที่เข้าร่วมกับกูเกิลในนาม Open Handset Alliances (OHA) บริษัทเหล่านี้จะพัฒนาแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตนออกมา โดยรูปร่างหน้าตา การแสดงผล และพังก์ชั่นการใช้งาน จะมีความเป็นเอกลักษณ์ และมีลิขสิทธิ์เป็นของตน พร้อมได้รับสิทธิ์ในการมีบริการเสริมต่างๆ จากกูเกิล ที่เรียกว่า Google Mobile Service (GMS) ซึ่งเป็นบริการเสริมที่ทำให้แอนดรอยด์มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามจุดประสงค์ของแอนดรอยด์ แต่การจะได้มาซึ่ง GMS นั้น ผู้ผลิตจะต้องทำการทดสอบระบบ และขออนุญาตกับทางกูเกิลก่อน จึงจะนำเครื่องออกสู่ตลาดได้

3. Cooking หรือ Customize เป็นแอนดรอยด์ที่นักพัฒนานำเอารหัสต้นฉบับจากแหล่งต่างๆ มาปรับแต่งในแบบฉบับของตนเอง โดยจะต้องทำการปลดล็อคสิทธิ์การใช้งานอุปกรณ์ หรือ Unlock เครื่องก่อนจึงจะสามารถติดตั้งได้ แอนดรอยด์ประเภทนี้ถือเป็นประเภทที่มีความสามารถมากที่สุดเท่าที่อุปกรณ์เครื่องนั้นๆ จะรองรับได้เนื่องจากได้รับการปรับแต่งให้เข้ากับอุปกรณ์นั้นๆ จากผู้ใช้งานจริง

เวอร์ชั่นของ Android

ปัจจุบัน เวอร์ชั่นล่าสุด คือ Android 13

องค์ประกอบของ Application

องค์ประกอบของแอปพลิเคชัน 

Application Component คือ Component หลักที่ใช้ในการสร้าง Android Application โดย Application Component แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Activity, Service, Content Provider, และ Broadcast Receiver ซึ่งแต่ละประเภทของ Application Component นี้มีเป้าหมายในการใช้งานที่แตกต่างกัน มีรูปแบบการกระตุ้นให้เกิดการทำงานที่แตกต่างกัน รวมถึงมีวงจรชีวิตที่แตกต่างกันด้วย 

1. Activity คือ Application Component ที่ใช้ในการควบคุมการสร้าง User Interface เช่น การแสดงผลหน้าจอรายการอีเมล์, การแสดงหน้าจอแบบฟอร์มการส่งอีเมล์ เป็นต้น รวมถึงควบคุมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับ User Interface ด้วย เช่น เมื่อผู้ใช้เลือกรายการอีเมล์ก็จะทำการตอบสนองผู้ใช้โดยการแสดงข้อมูลรายการอีเมล์ที่เลือก เป็นต้น

2. Service คือ Application Component ที่ไม่มี User Interface และจะทำการประมวลผลใน Background กล่าวคือ เป็นการประมวลผลที่สามารถทำงานขนานกันกับการทำงานอื่นๆ ของผู้ใช้ ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้เกิดการทำงานโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในหน้าจอนั้น ๆ ก็ได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะการทำงานนั้นต้องใช้ระยะเวลานาน เช่น การใช้ Service เปิดเพลง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถไปใช้ Application อื่น ๆ ได้ แต่เพลงยังคงเล่นอยู่ หรือ การใช้ Service ดาวน์โหลดข้อมูลใด ๆ ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถไปใช้ Application อื่น ๆ ได้

3. Content Provider คือ Application Component ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมข้อมูลใด ๆ ของ Application ที่ต้องการ Share ให้ Application อื่น ๆ สามารถนำข้อมูลนั้น ๆ ไปใช้งานได้เช่น System ได้จัดเตรียม Content Provider ที่เป็นข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ (Contact) ไว้ เพื่อให้ Application ที่ต้องการใช้ข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อนี้ สามารถนำข้อมูลไปใช้หรือแก้ไขข้อมูลได้เป็นต้น

4. Broadcast Receiver คือ Application Component ที่ไม่มี User Interface โดยจะทำหน้าที่รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นของ System และนำมาบอกให้ผู้ใช้ได้รับรู้ เช่น เมื่อ Battery ต่ำ, เมื่อหน้าจอถูก Capture, เมื่อมีการพักหน้าจอ เป็นต้น

คุณลักษณะของแอปพลิเคชัน

แอปพลิเคชันที่ทำงานบนโทรศัพท์มือถือ เรียกว่า “โมบายแอปพลิเคชัน” หรือ “Mobile Application” ซึ่งถูกออกแบบให้ใช้งานได้บนสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต มีความรวดเร็ว สะดวก และง่ายต่อการใช้งาน แบ่งคุณลักษณะของโมบายแอปพลิเคชันเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. แอปพลิเคชันระบบ เป็นส่วนซอฟต์แวร์ระบบที่รองรับการใช้งานของแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆได้ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการที่นิยมจากค่ายอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ มีดังนี้

  1.1 Symbian OS จุดเด่นอยู่ที่รูปแบบของส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (UI) ที่ดูเรียบง่าย มีฟังก์ชันการใช้งานพื้นฐานอย่างครบ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความง่ายในการติดตั้งโปรแกรมและลงเพลงต่างๆ และรองรับการใช้งานที่หลากหลาย

  1.2 Windows Mobile พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ที่ผลิตระบบปฏิบัติการที่รองรับการทำงานของคอมพิวเตอร์มากมาย ได้แก่ Window XP (7) , Windows Vista (8) หรือ Window 10 เป็นต้น ตัวอย่างสมาร์ทโฟนที่ใช้ Windows Mobile ได้แก่ HTC , Acer เป็นต้น

  1.3 BlackBerry OS พัฒนาโดยบริษัท RIM เพื่อรองรับการทำงานของแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ BlackBerry โดยตรง จะเน้นการใช้งานทางด้านอีเมล์เป็นหลัก ระบบการสนทนาผ่านBlackBerry Messenger เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องติดต่องานต่างๆผ่านอีเมล์และกลุ่มวัยรุ่นที่รักการสนทนาผ่านคอมพิวเตอร์

 1.4 iPhone OS พัฒนาโดยบริษัท Apple เพื่อรองรับการทำงานของแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ iPhone โดยตรง โดยกลุ่มที่นิยมใช้ iPhone มักจะเป็นผู้ที่ชื่นชอบด้านมัลติมีเดีย

 1.5 Android พัฒนาโดยบริษัท Google เป็นระบบปฏิบัติการล่าสุดที่กำลังเป็นที่นิยมทั้ง Search Engine , Gmail , Google Docs , Google Maps เป็นต้น มีจุดเด่น คือ เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Open Source ซึ่งทำให้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องใช้งานบริการต่าง ๆ จากทาง Google รวมทั้งต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา

2. แอปพลิเคชันที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ เนื่องจากผู้ใช้มีความต้องการใช้แอปพลิเคชันแตกต่างกัน จึงมีผู้ผลิตลพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ๆขึ้นเป็นจำนวนมาก ได้แก่แอปพลิเคชันในกลุ่มเกม ผู้ผลิตเกมจึงคิดค้นเกมส์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดมากขึ้น ซึ่งผู้เล่นมักนิยมเล่นเกมออนไลน์ รวมทั้งมีการเชื่อมโยงกับ กลุ่มเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) เช่น เกมที่อยู่ใน Twitter หรือ Facebook เป็นต้น

3. แอปพลิเคชันในกลุ่มเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา เช่น ใน Facebook , MySpace เป็นต้น

4. แอปพลิเคชันในกลุ่มมัลติมีเดีย ได้แก่ เสียงที่เป็นไฟล์ในแบบ mp3 , wav เป็นต้น ภาพนิ่งในรูปแบบ gif , jpg เป็นต้น ภาพเคลื่อนไหว คลิปวิดีโอในรูปแบบ mp4 หรือ avi เป็นต้น

Thunkable เว็บไซต์สร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับมือใหม่

  การสร้างโมบายแอปพลิเคชันสำหรับผู้เริ่มต้นที่สนใจไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือผู้ที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ นั้น การหาเครื่องมือหรือโปรแกรมหรือเว็บไซต์ดังกล่าวในปัจจุบันมีให้เลือกอย่างมากมาย แต่ที่เป็นนิยมมากทั้งในและต่างประเทศ ที่มาแรงมาก คือ Thunkable ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เรียนรู้ได้ง่ายมีเครื่องมือและชุดคำสั่งที่ใช้รูปแบบของ Blockly เป็นการสร้างบล๊อคเสมือนการเขียนโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างโค้ด โดย Blockly นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ในส่วนของ Google Education ของ Google

      ด้วยรูปแบบการใช้งานเครื่องมือนี้ ที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมง่ายมากขึ้นกว่าเมื่อในอดีต เพียงแค่ลากแล้ววางเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อนหรือไม่มีความรู้ทางด้านการเขียนโค้ดมาก่อน ก็สามารถทำได้และใช้เวลาไม่เยอะในการเรียนรู้ ดังนั้นไม่ว่าจะประกอบอาชีพใด ก็สามารถสรรค์สร้างโมบายแอปพลิเคชันตั้งแต่ระบบพื้นฐานไปจนถึงขั้นผู้ประกอบการได้ 

Thunkable คืออะไร

          Thunkable เป็นเครื่องมือสร้างโมบายแอปพลิเคชัน เพื่อติดตั้งบนสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android, iOS โดยเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างนั้น นอกจากเครื่องมือพื้นฐานแล้ว ยังมีการเชื่อมต่อไปยังผลิตภัณฑ์จาก Google , Twitter  และ Microsoft โดยชุดคำสั่งหลังจากที่ออกแบบหน้าจอด้วยเครื่องมือต่าง ๆ Thunkable คือเว็บไซต์ที่ให้เราสามารถสร้างโมบายแอปพลิเคชัน สวยๆ ใช้งานได้ และมีประโยชน์ ตามแนวคิด “Thunkable enables anyone to create beautiful and powerful mobile apps” สามารถเข้าไปทดลองใช้งานได้ที่ https://thunkable.com

         ผู้สร้างโมบายแอปพลิเคชัน สามารถแสดงถึงแนวคิดการเขียนโปรแกรมเป็นบล็อก ได้โดยง่ายด้วยภาษาอังกฤษอย่าง แต่ต้องมีการฝึกฝนเครื่องมือและชุดคำสั่งให้คล่องและปฏิบัติการด้านโปรแกรมทดลองแยกออกเป็นส่วน ๆ

การสร้างแอปพลิเคชัน จาก Thunkable

        - เข้าใช้งานโดยใช้ผู้ใช้งานจาก Google

        - สร้างโมบายแอปพลิเคชันจากขั้นพื้นฐานถึงขั้นสูงได้

        - สามารถติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ Android และ ระบบปฏิบัติการ iOS ได้

       - สามารถนำขึ้น ด้วย Google Play Store สำหรับระบบปฏิบัติการ Android และ ขึ้น App Store สำหรับ ระบบปฏิบัติการ iOS ได้ 

เครื่องมือที่น่าสนใจใน Thunkable

       Media

          - Speech Recognizer เป็นการรู้จำเสียงพูด จาก Google

          - Text-to-Speech       การแสดงเสียงจากข้อความ จาก Google

       Sensor

          - Accelerometer        ใช้งานด้านความเร่ง

          - Barcode Scanner     ใช้งานด้านเครื่องอ่านบาร์โค้ด

          - Clock                     ใช้งานด้านเวลา

          - Gyroscope              ใช้งานด้านวัดการหมุน

          - Location Sensor      ใช้งานด้านตำแหน่ง

          - NFC Sensor            ใช้งานด้านเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระยะใกล้

          - Orientation Sensor   ใช้งานด้านการปรับของสมาร์ตโฟน

          - Pedometer             ใช้งานด้านการนับก้าว

          - Proximity Sensor     ใช้งานด้านวัดความใกล้ชิด

     Social

          - Twitter                   เป็นการใช้บริการสังคมออนไลน์ของ Twitter

     Visualization

          - Google Maps           เป็นการใช้บริการด้านแผนที่ของ Google

     Artificial Intelligence

          - Emotion Recognizer           เป็นการวิเคราะห์อารมณ์ ของ Microsoft

          - Image Recognizer     เป็นการวิเคราะห์ภาพ ของ Microsoft

     - LEGO MINDSTORMS สำหรับควบคุมอุปกรณ์หุ่นยนต์ LEGO

      Experimental

          - Firebase DB เป็นการติดต่อกับฐานข้อมูล Firebase ของ Google

          - Spreadsheets เป็นการติดต่อไฟล์ตารางทำการออนไลน์ ของ Google

นำ Thunkable ไปใช้สร้างโมบายแอปพลิเคชันอะไรได้บ้าง

         - โปรแกรมคำนวณตัวเลขอย่างง่าย

         - โปรแกรมสุ่มตัวเลข

         - โปรแกรมฝึกเขียนตัวอักษร

         - โปรแกรมฝึกวาดภาพ

         - โปรแกรมประยุกต์ด้านงานต่างๆ ที่ใช้ฐานข้อมูล

         - โปรแกรมนับการเดิน

         - โปรแกรมวิเคราะห์อารมณ์

Thunkable คืออะไร

          Thunkable เป็นเครื่องมือสร้างโมบายแอปพลิเคชัน เพื่อติดตั้งบนสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android, iOS โดยเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างนั้น นอกจากเครื่องมือพื้นฐานแล้ว ยังมีการเชื่อมต่อไปยังผลิตภัณฑ์จาก Google , Twitter  และ Microsoft โดยชุดคำสั่งหลังจากที่ออกแบบหน้าจอด้วยเครื่องมือต่าง ๆ Thunkable คือเว็บไซต์ที่ให้เราสามารถสร้างโมบายแอปพลิเคชัน สวยๆ ใช้งานได้ และมีประโยชน์ ตามแนวคิด “Thunkable enables anyone to create beautiful and powerful mobile apps” สามารถเข้าไปทดลองใช้งานได้ที่ https://thunkable.com

         ผู้สร้างโมบายแอปพลิเคชัน สามารถแสดงถึงแนวคิดการเขียนโปรแกรมเป็นบล็อก ได้โดยง่ายด้วยภาษาอังกฤษอย่าง แต่ต้องมีการฝึกฝนเครื่องมือและชุดคำสั่งให้คล่องและปฏิบัติการด้านโปรแกรมทดลองแยกออกเป็นส่วน ๆ

การสร้างแอปพลิเคชัน จาก Thunkable

        - เข้าใช้งานโดยใช้ผู้ใช้งานจาก Google

        - สร้างโมบายแอปพลิเคชันจากขั้นพื้นฐานถึงขั้นสูงได้

        - สามารถติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ Android และ ระบบปฏิบัติการ iOS ได้

       - สามารถนำขึ้น ด้วย Google Play Store สำหรับระบบปฏิบัติการ Android และ ขึ้น App Store สำหรับ ระบบปฏิบัติการ iOS ได้ 

เครื่องมือที่น่าสนใจใน Thunkable

       Media

          - Speech Recognizer เป็นการรู้จำเสียงพูด จาก Google

          - Text-to-Speech       การแสดงเสียงจากข้อความ จาก Google

       Sensor

          - Accelerometer        ใช้งานด้านความเร่ง

          - Barcode Scanner     ใช้งานด้านเครื่องอ่านบาร์โค้ด

          - Clock                     ใช้งานด้านเวลา

          - Gyroscope              ใช้งานด้านวัดการหมุน

          - Location Sensor      ใช้งานด้านตำแหน่ง

          - NFC Sensor            ใช้งานด้านเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระยะใกล้

          - Orientation Sensor   ใช้งานด้านการปรับของสมาร์ตโฟน

          - Pedometer             ใช้งานด้านการนับก้าว

          - Proximity Sensor     ใช้งานด้านวัดความใกล้ชิด

     Social

          - Twitter                   เป็นการใช้บริการสังคมออนไลน์ของ Twitter

     Visualization

          - Google Maps           เป็นการใช้บริการด้านแผนที่ของ Google

     Artificial Intelligence

          - Emotion Recognizer           เป็นการวิเคราะห์อารมณ์ ของ Microsoft

          - Image Recognizer     เป็นการวิเคราะห์ภาพ ของ Microsoft

     - LEGO MINDSTORMS สำหรับควบคุมอุปกรณ์หุ่นยนต์ LEGO

      Experimental

          - Firebase DB เป็นการติดต่อกับฐานข้อมูล Firebase ของ Google

          - Spreadsheets เป็นการติดต่อไฟล์ตารางทำการออนไลน์ ของ Google

นำ Thunkable ไปใช้สร้างโมบายแอปพลิเคชันอะไรได้บ้าง

         - โปรแกรมคำนวณตัวเลขอย่างง่าย

         - โปรแกรมสุ่มตัวเลข

         - โปรแกรมฝึกเขียนตัวอักษร

         - โปรแกรมฝึกวาดภาพ

         - โปรแกรมประยุกต์ด้านงานต่างๆ ที่ใช้ฐานข้อมูล

         - โปรแกรมนับการเดิน

         - โปรแกรมวิเคราะห์อารมณ์

Scratch ( สแครช ) ประโยชน์ของการเรียนรู้ โปรแกรม Scratch พื้นฐานการโค้ดดิ้งตั้งแต่วัยเด็ก

         ความรู้ความสามารถในการใช้ทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบตามแนวคิดวิทยาการคำนวณซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดไปเป็นการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือการเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ได้นั้น เป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ในสังคมยุคแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เป็นสังคมในโลกดิจิตอล เมื่อเด็ก ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมผ่าน Scratch พวกเขาจะได้เรียนรู้กลยุทธ์สำคัญในการแก้ปัญหา การออกแบบวิธีแก้ปัญหาและการสื่อสารทางความคิด ซึ่งเป็นหัวใจหลักของแนวคิดวิทยาการคำนวณ

โปรแกรม Scratch คืออะไร การเขียนโค้ดในรูปแบบ Block-based language

Scratch คืออะไร?

Scratch คือ ภาษาเขียนโค้ดสำหรับเด็กในรูปแบบ Block-based language ที่สามารถป้อนคำสั่งได้ในรูปแบบของบล็อกคำสั่ง (Block Programming) โดยการป้อนคำสั่ง (Coding) นั้นจะต้องนำบล็อกคำสั่งไปจัดเรียงอย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน (Sequential) 

Scratch หรือ สแครช ถูกพัฒนาขึ้นโดยสถาบัน MIT (The Massachusetts Institute of Technology) เพื่อจุดประสงค์ในการเรียนรู้โค้ดดิ้งได้ตั้งแต่วัยเด็ก ที่ใช้แนวคิดการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบกราฟิกโดยนำ Blockly ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ในส่วนของ Google Education ของบริษัทกูเกิลมาพัฒนาชุดคำสั่งในโปรแกรม Scratch 

MIT (The Massachusetts Institute of Technology) คือ มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นมหาวิทยาลัยที่เข้ายากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา มีชื่อเสียงมานานในเรื่องงานวิจัยและการศึกษาในสาขาเคมี ฟิสิกส์ เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่าง ๆ ต่อมาเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นในสาขาชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และการจัดการ โดยมหาวิทยาลัยนี้ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1861 จัดการสอนโดยเน้นการศึกษาในห้องปฏิบัติการ และเน้นเรื่องเทคโนโลยีประยุกต์ในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา

โปรแกรม Scratch ใช้งานโดยการลากแล้ววางโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องพิมพ์คำสั่งใหม่ทั้งหมดจึงช่วยลดข้อผิดพลาดในการพิมพ์ ส่งผลให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้ง่าย เกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้ พร้อมทั้งเสริมสร้างแนวคิดทางวิทยาการคำนวณ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างเป็นระบบ และการคิดโดยใช้หลักเหตุผล

นอกจากนี้โปรแกรม Scratch ยังมีบล็อกที่ช่วยควบคุมการทำงานแบบมีเงื่อนไขและทำซ้ำสำหรับคำสั่งที่มีความซับซ้อน โดยผู้ใช้สามารถกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมลงในโครงสร้างของบล็อกคำสั่งเหล่านี้ได้ เพื่อนำไปเชื่อมโยงกับประสบการณ์ในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

รู้จัก โปรแกรม Scratch และการเขียนโปรแกรมแบบ Block Programming

โปรแกรม Scratch (สแครช) เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ออกแบบให้ผู้ใช้สามารถสร้างชิ้นงานขึ้นมาได้โดยง่าย เมื่อสร้างเป็นชิ้นงานเสร็จแล้ว ผู้สร้างยังสามารถนำชิ้นงานที่สร้างสรรค์เสร็จสมบูรณ์นี้ ไปแสดง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นบนเว็บไซต์ได้อีกด้วย ทำให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้หลักการทางคณิตศาสตร์ และแนวคิดการเขียนโปรแกรมไปพร้อม ๆ กับการคิดอย่างสร้างสรรค์ ที่อาศัยหลักเหตุผลและเป็นระบบ ให้เกิดการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมสร้างทักษะการแก้ไขปัญหาและทักษะการคิดเชิงคำนวณอีกด้วย 

เราจะพาไปทำความรู้จัก โปรแกรม Scratch และส่วนประกอบหลักของโปรแกรม Scratch โดยในหน้าต่างการทำงาน มีดังนี้

หมายเลข 1 คือ เครื่องมือเปลี่ยนภาษาภายในโปรแกรม ซึ่งมีให้เลือกถึง 64 ภาษาด้วยกัน เนื่องจากโปรแกรม Scratch เป็นสื่อการเรียนรู้ที่สนับสนุนการศึกษารอบโลกและสามารถใช้งานได้ในกว่า 150 ประเทศ 

หมายเลข 2 คือ แถบเมนูบันทึกผลงาน รวมไปถึงเมนูเรียกเปิดงานเก่า เมนูแก้ไข และเมนูตัวอย่างชิ้นงานที่คนอื่นได้สร้างไว้และแชร์ลงเว็บไซต์ ซึ่งเราสามารถเปิดดูได้เพื่อศึกษาการป้อนคำสั่ง การจัดเรียงลำดับขั้นตอน หรือนำไปต่อยอดก็ได้เช่นกัน

หมายเลข 3 คือ หมวดหมู่บล็อกโค้ดคำสั่งหรือสคริปต์ (Script) ที่ภายในถูกบรรจุคำสั่งย่อย ๆ เอาไว้สำหรับป้อนคำสั่งแก่ตัวละครหรือฉากพื้นหลัง เพื่อสั่งให้ตัวละครหรือฉากทำงานตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยการเลือกสคริปต์จากกลุ่มบล็อกและนำไปจัดเรียงตามลำดับ ซึ่งสคริปต์ในโปรแกรม Scratch แบ่งตามหมวดหมู่เป็น 9 กลุ่ม เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ดังนี้

 นอกจากนี้ Scratch ยังมีสคริปต์ที่เป็น Extension เสริมเพื่อใช้ป้อนคำสั่งเฉพาะด้านอย่าง Pen หรือ คำสั่งที่ใช้ร่วมกับ Micro : Bit เป็นต้น

หมายเลข 4 คือ เมนูเพื่อใช้สำหรับปรับแต่งแก้ไขตัวละครหรือพื้นหลังที่เราเลือก และยังเป็นเมนูที่ช่วยให้เราสามารถสร้างตัวละครขึ้นมาเอง โดยในเมนูนี้ก็จะมีเครื่องมือวาดรูปต่าง ๆ สำหรับใช้สร้างหรือปรับแต่งตัวละคร

หมายเลข 5 คือ เมนูที่มีเครื่องมือที่ใช้จัดการเกี่ยวกับเสียง เช่น การปรับแต่งเสียง การบันทึกเสียง การลบ การตัดเสียง เป็นต้น

หมายเลข 6 คือ พื้นที่ในการวางบล็อกคำสั่งที่เป็นการป้อนคำสั่ง (Coding) ให้กับตัวละครหรือภาพพื้นหลังนั่นเอง

หมายเลข 7 คือ ปุ่มสั่งให้โปรแกรมหรือคำสั่งที่ได้สร้างไว้เริ่มทำงาน (รูปธงสีเขียว) และปุ่มสั่งให้โปรแกรมหยุดทำงาน (รูปวงกลมสีแดง) เพื่อเช็คการทำงานของโปรเจกต์ที่กำลังสร้างในขณะการวางคำสั่งเพื่อตรวจเช็คว่าเราได้ป้อนคำสั่งโดยใส่เงื่อนไขและวางลำดับขั้นตอนได้ถูกต้องตามจุดประสงค์หรือไม่

หมายเลข 8 คือ เวทีแสดงผล ที่จะแสดงผลต่าง ๆ ออกมาเมื่อเรากดปุ่มรูปธงสีเขียวในส่วนประกอบ หมายเลข 7

หมายเลข 9 คือ ปุ่มการแสดงผล การปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลหน้าต่างของส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรม Scratch เช่น สัดส่วนการแสดงผลพื้นที่วางคำสั่งและเวที เป็นต้น

หมายเลข 10 คือ เมนูปุ่มย่อ ขยาย กึ่งกลางพื้นที่วางบล็อกคำสั่งในโปรแกรม Scratch ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อเราสร้างโปรเจกต์ที่มีความซับซ้อนที่ต้องวางบล็อกคำสั่งและเงื่อนไขหลาย ๆ บล็อกจนเต็มพื้นที่ เราสามารถกดย่อขนาดเพื่อให้เห็นภาพรวมของคำสั่งได้

หมายเลข 11 คือ ตัวละคร (sprite) ที่เรานำเข้ามายังโปรเจกต์ที่เราสร้างใน โปรแกรม Scratch

หมายเลข 12 คือ เมนูสำหรับเพิ่มตัวละครเข้ามาสำหรับใช้ทำโปรเจกต์ ซึ่งอาจมาจาก โปรแกรม Scratch ที่มีไว้ให้ หรือจากแหล่งอื่นก็ได้

หมายเลข 13 คือ เมนูสำหรับเพิ่มพื้นหลังเข้ามาสำหรับใช้ทำโปรเจกต์ ซึ่งอาจมาจาก โปรแกรม Scratch ที่มีไว้ให้ หรือจากแหล่งอื่นก็ได้

ประโยชน์ของโปรแกรม Scratch ที่สอดรับกับการเติบโตของเด็ก ๆ ในโลกยุคใหม่

1. เนื่องจาก Scratch โปรแกรมถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการเรียนรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมที่สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป จึงเหมาะสมในการเริ่มพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่สำคัญในโลกยุคใหม่ เช่น การคิดเชิงคำนวณ การคิดเชิงตรรกะ อัลกอริทึม การแก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน และยังเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก ๆ ได้อีกด้วย

2. การเรียนรู้ผ่าน Scratch เป็นพื้นฐานสำคัญในการเขียนโปรแกรมซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาต่อยอดในการเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ในระดับที่สูงขึ้น เช่น Java ภาษาซี Python เป็นต้น โดยการเรียนรู้ Scratch เป็นการเริ่มจากกระบวนการเรียนรู้วิธีการเขียนโค้ดอย่างมีขั้นตอนและอัลกอริทึมที่ถูกต้อง ในรูปแบบ Block-based language ที่ส่งผลให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้ง่าย

 3. การสร้างหนังสือนิทาน สร้างเพลง สร้างงานต่าง ๆ รวมถึงการสร้างเกม Scratch นั้นจะช่วยให้เด็ก ๆ คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเติบโตสู่โลกยุคใหม่ การเรียนโปรแกรม Scratch ช่วยกระตุ้นให้พวกเขาเกิดความคิดสร้างสรรค์และนำแนวคิดไปใช้สร้างออกมาเป็นชิ้นงานที่สามารถเกิดเป็นภาพที่ต้องการได้จริง และยังได้ทั้งความรู้ที่เป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมพร้อมเกิดความสนุกสนาน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาทักษะในการบริหารโครงการ การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน และส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางสังคมอีกด้วย

ตัวอย่าง โปรแกรม Scratch ในหลักสูตร Code Genius

Code Genius เป็นสถาบันสอนเขียนโปรแกรมสำหรับเด็กมีหลักสูตรรองรับการเรียนโค้ดดิ้งตั้งแต่พื้นฐานและมีหลักสูตรสำหรับเด็ก ๆ ตั้งแต่ช่วงปฐมวัยเป็นต้นไป อีกทั้งยังเป็นสถาบันที่มีการจัดเวทีการแข่งขัน Nation Scratch Competition ที่เปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจได้เข้าร่วม

และในวันนี้ Code Genius จะมายกตัวอย่างและแนะนำกิจกรรมการเรียนรู้โปรแกรม Scratch ในหลักสูตรสร้างเกม Scratch เบื้องต้นของสถาบัน ว่าจะน่าสนุกและน่าสนใจขนาดไหนให้ได้เห็นกัน

1. เกมวิ่งไล่จับ (Chasing Game)

เกมวิ่งไล่จับ (Chasing Game) เป็นกิจกรรมตัวอย่าง โปรแกรม Scratch ในหลักสูตรสร้างเกม Scratch ของ Code Genius นี้เป็นเกมพื้นฐานที่ให้ความรู้เรื่องการป้อนคำสั่ง Direction และ Loop ซึ่งมีวิธีการเล่น คือ ผู้เล่นจะต้องพาตัวละครวิ่งหนีผีให้ได้นานที่สุดโดยใช้เมาส์เลื่อนไปในตำแหน่งที่ต้องการ ยิ่งวิ่งหนีได้นาน ไม่ถูกจับได้คะแนนก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้าหากโดนผีจับได้ทุกอย่างจะจบลงทันที พร้อมมีกิมมิคเล็ก ๆ เพื่อเพิ่มความสนุกอย่างการมีกล่องข้อความเมื่อโดยจับได้

2. เกม Shooting the Answer

เกม Shooting the Answer เป็นการสร้างเกม Scratch ที่มีวิธีการเล่น คือ ผู้เล่นจะต้องใช้เมาส์ยิงลูกโป่งที่เป็นคำตอบให้ถูกต้อง ถ้ายิงถูก แมวก็จะพูดชมเรา ถ้ายิงผิดแมวก็จะพูดให้กำลังใจเรา ผู้สร้างจะได้ใช้ความรู้เรื่อง Loop และการสร้างเงื่อนไข

 1. เมื่อเกมเริ่มจะมีโจทย์และคำตอบปรากฏ โดยคำตอบจะอยู่บนลูกโป่งที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ

 2. เมื่อเรายิงลูกโป่งที่มีคำตอบที่ผิดปรากฏอยู่ แมวก็จะพูดให้กำลังใจเรา

 3. ถ้าเรายิงลูกโป่งที่มีคำตอบที่ถูก แมวก็จะพูดชมเรา

 ภาษา Scratch ส่งเสริมการเรียนรู้ ดาวน์โหลด Scratch ได้ฟรี

โปรแกรม Scratch เปิดให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แปลเป็นภาษาต่าง ๆ กว่า 64 ภาษา และมีการเปิดสอนตั้งแต่ในโรงเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย โดยการเข้าใช้งานมี 2 วิธี คือ 

การเข้าใช้งานแบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu  

และการเข้าใช้งานแบบออฟไลน์

โดยสามารถดาวน์โหลด Scratch ได้ที่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu/download 

สรุป

การเรียนเขียนโค้ดดิ้งโดยใช้โปรแกรม Scratch ทำให้เด็ก ๆ สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่อยู่ในจินตนาการออกมาเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างง่ายดาย ยกตัวอย่างเช่น หนังสือนิทาน เพลง หรือเกมแอนิเมชัน โดยโปรแกรม Scratch หรือภาษา Scratch นั้นเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ฝึกให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้แนวคิดการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผ่านโปรแกรมโค้ดดิ้งรูปแบบกราฟิก โดยวิธีการออกคำสั่งสามารถทำได้โดยง่าย เพียงแค่ลากบล็อกคำสั่งมาเรียงต่อกันให้เกิดเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ภาพหรือตัวละครที่ได้เลือกไว้นั้นก็จะสามารถขยับเคลื่อนไหวตามที่ได้วางคำสั่งไว้นั่นเอง 

นอกจากนี้การเรียนเขียนโค้ดดิ้งโดยใช้โปรแกรม Scratch สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ดีให้เด็ก ๆ ได้ใช้ฝึกฝนก่อนเข้าสู่สนามโค้ดดิ้งจริง ที่จะต้องเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

User Interface Design คืออะไร

    User Interface Design คือตัวกลางที่เชื่อมโยงผู้ใช้งาน (User) เข้ากับตัวโปรแกรมที่เขียนขึ้น แสดงผลออกมาแบบที่ผู้ใช้งานทั่วไปคุ้นเคย คอยดูแลเรื่องความสวยงาม เลือกฟ้อนต์ เลือกสี การวางเลย์เอาท์ เรียกได้ว่าเว็บไซต์สักหนึ่งเว็บไซต์จะสวยหรือไม่ขึ้นอยู่กับ User Interface Design ที่นักออกแบบทำการออกแบบขึ้นมาโดยนักออกแบบที่ทำหน้าที่นี้เรามักจะคุ้นเคยในตำแหน่งที่เรียกว่า UI Designer ซึ่งก็ย่อมาจาก User Interface Designer นั้นเอง และเรามักจะได้ยินคำอยู่ 2 คำคือ UX/UI Design คำ 2 คำนี้มักจะอยู่คู่กันเสมอโดยทั้ง 2 สิ่งนี้แท้จริงแล้วมีหน้าที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง

   แล้วการออกแบบ UI (User Interface) แตกต่างกับ UX (User Experience) อย่างไร เชื่อว่าหลายคนจะเกิดคำถามขึ้นมาซึ่งทั้งสองส่วนนั้นมีความเชื่อมโยงกันถึงแม้จะเป็นคนละอย่างกัน สำหรับ UX (User Experience) เป็นเรื่องของหลักการ เกี่ยวกับความรู้สึกของผู้ใช้งานเป็นหลัก ทำอย่างไรให้ผู้ใช้งานใช้งานโปรแกรมได้ง่าย ทำอย่างไรให้โปรแกรมของเราไม่เกิดความสับสนที่ไม่ควรเกิดขึ้นที่กล่าวมาทั้งหมด UX จะรับหน้าที่แก้ไขปัญหานี้ แต่สำหรับ UI (User Interface) หน้าที่สำคัญที่สุดคือความสวยงามที่แสดงผลบนโปรแกรม จะออกแบบอย่างไรให้ผู้ใช้งานชื่นชอบ ออกแบบอย่างไรให้โปรแกรมอ่านง่าย ใช้งานได้ง่าย มีปุ่มกดที่สะดุดตาแบบที่ควรจะเป็น หรือทำอย่างไรให้โปรแกรมสามารถสื่อสารสิ่งที่บริษัทต้องการจะสื่อสารออกมาได้อย่างถูกต้อง เช่น โจทย์ของลูกค้าเราคือการทำโปรแกรมให้น่าเชื่อถือก็เป็นหน้าที่ของ UI ที่ต้องเลือกฟ้อนต์ สี รูปภาพที่สามารถแสดงความน่าเชื่อถือออกมาให้ได้

หน้าที่ของ User Interface Design ต้องทำอะไร

    User Interface Design ต้องสวยและใช้งานง่าย

อย่างที่เกริ่นนำด้านบนว่าหน้าที่ของ UI Designer คือการทำโปรแกรมออกมาให้สวยงามโดนใจผู้ใช้งาน แต่อีกส่วนที่สำคัญคือในการออกแบบนั้นยังต้องคำนึงถึงหลักการด้าน UX ด้วยเพราะโปรแกรมที่สวยแต่ใช้งานยากผู้ใช้งานก็จะเกิดการสับสนได้เช่นเดียวกัน จึงเกิดเป็นตำแหน่งที่เราคุ้นหูอย่าง UX/UI Designer คือนักออกแบบที่มีความสามารถทางด้าน UX และ ​UI ไปในตัว

ทำไม User Interface Design ถึงสำคัญ

เพราะการที่เราจะทำโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันขึ้นมาใช้งานแค่การใช้งานง่ายอย่างเดียวไม่พอแต่โปรแกรมนั้นจะต้องมีหน้าตาที่สวยงามสามารถสื่อสารถึงองค์กรออกมาได้ด้วยทำให้ User Interface Design คือสิ่งสำคัญไม่แพ้ User Experience ที่ดีต่อผู้ใช้งาน ขั้นตอนการทำ User Interface Design นั้นครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบเมนู (Menu) การจัดตำแหน่งของโลโก้ การออกแบบแบนเนอร์ (Banner) การออกแบบเลย์เอาท์ของโปรแกรมว่าจะมีข้อมูลอะไรบ้างอยู่ที่หน้าโปรแกรม ตลอดไปจนถึงการออกแบบโปรแกรมในรูปแบบของ Responsive ก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของ User Interface Design ทั้งนั้น

User Interface Design ที่ดีเป็นอย่างไร

ในการออกแบบเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันนั้นเรามักจะให้ความสำคัญกับผู้ใช้งาน (User) เป็นอันดับต้นๆ เราต้องรู้ก่อนว่าผู้ใช้งานของเราคือใคร มีความต้องการ มีความชื่นชอบดีไซน์แบบไหน ผู้ใช้งานแต่ละกลุ่มจะมีความต้องการที่แตกต่างกันเช่น ถ้าคุณกำลังทำเว็บไซต์ให้กับผู้สูงอายุเว็บไซต์นั้นจะต้องมี User Interface Design ที่เรียบง่ายมีปุ่มกดที่เด่นชัด หรือถ้าคุณกำลังออกแบบเว็บไซต์บริษัทที่ต้องสร้างความน่าเชื่อถือคุณก็ต้องใช้ User Interface Design ที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานซึ่งจะประกอบด้วยภาพ ฟ้อนต์ สี ที่สื่อสารถึงภาพลักษณ์นั้นออกมาได้ เพื่อให้เป็นไปตามโจทย์ที่ลูกค้าตั้งเอาไว้

เข้าใจง่าย

การออกแบบจะต้องเข้าใจง่ายใช้งานได้ง่าย ไม่สร้างความสับสนให้กับผู้ใช้งาน ความง่ายของ UI จะช่วยให้ผู้ใช้งานที่ไม่มี Technology skills ที่สูงก็สามารถใช้งานโปรแกรมของเราได้อย่างไม่สับสน ความยากของนักออกแบบคือทำอย่างไรให้โปรแกรมนั้นสวยดูดีแต่ยังคงความง่ายในการใช้งาน

ออกแบบ Design System

เพื่อให้การทำงานไหลลื่น ไม่ว่าใครก็สามารถพัฒนางานออกแบบต่อได้การวาง Design System จึงเป็นเรื่องสำคัญ จะเป็นอย่างไรถ้าโปรแกรมมีปุ่มกดหลากหลายรูปทรง บางปุ่มเป็นเหลี่ยม บางปุ่มก็โค้ง สิ่งที่เกิดขึ้นคือสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้งาน การทำ Design System จึงเป็นเหมือนกรอบที่วางเอาไว้ให้ UI บนโปรแกรมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

วางเป้าหมาย

ทุกการออกแบบล้วนต้องมีเป้าหมายโปรแกรมทุกโปรแกรมล้วนมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ ปรับภาพลักษณ์ สื่อสารเรื่องบริหาร เน้นเป็นแหล่งรวมข่าวสาร หรือแม้แต่เพื่อการซื้อที่ง่ายขึ้นของผู้ใช้งาน การวางเป้าหมายจะทำให้วิธีคิดในการออกแบบ User Interface Design นั้นแตกต่างกันไป

สีและฟ้อนต์ก็สำคัญ

เชื่อหรือไม่ว่าสีและฟ้อนต์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญมากในการออกแบบ โปรแกรมนั้นประกอบไปด้วยรูปภาพ ฟ้อนต์และรูปทรง การเลือกใช้ฟ้อนต์ที่ถูกกับงานจึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่นักออกแบบจะต้องให้ความสำคัญ ฟ้อนต์แต่ละแบบก็สื่อสารภาพลักษณ์ออกมาไม่เหมือนกันลองดูฟ้อนต์อย่าง Google Font ก็ได้จะพบว่าแต่ละฟ้อนต์ที่มีให้ใช้งานนั้นมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ สีที่ใช้ก็สำคัญเพราะโดยปกติแล้วเรามักจะหยิบสีที่เป็นสีหลักของบริษัทมาออกแบบถือเป็นการคุมโทนภาพลักษณ์ของโปรแกรมไปในตัว การเลือกใช้สีจึงเป็นหนึ่งในข้อควรระวัง สิ่งที่ต้องระวังคือ สีหลุดจากข้อจำกัดของบริษัทนั้น ๆ หรือไปใช้สีของคู่แข่งบนโปรแกรมของเรา

User Interface Design ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ในการออกแบบโปรแกรมขึ้นมาจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบอันหลากหลาย สิ่งที่นักออกแบบจะต้องทำคือการผสมผสานองค์ประกอบทั้งหลายเข้าด้วยกันเพื่อให้ออกมาเป็นโปรแกรมที่สมบูรณ์ องค์ประกอบของ UI มักจะประกอบไปด้วย

- ฟ้อนต์ (Font)

- สี (Color)

- ปุ่ม (Button)

- รูปภาพ (Picture)

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือองค์ประกอบทั้งหมดหลักจากนำมาผสมผสานกันแล้วจะต้องดูลงตัว สามารถสื่อสารในสิ่งที่ลูกค้าต้องการออกแบบเช่น โจทย์คือต้องการโปรแกรมที่ดูน่าเชื่อถือ สิ่งที่ควรจะเป็นคือ ฟ้อนต์ที่ดูไม่เล่นจนเกินไป สีที่ไม่ฉูดฉาดมากนักเน้นสีขาวเป็นหลักและผสมผสานกับสีของบริษัทลูกค้า ปุ่มกดที่เรียบง่ายชัดเจน และรูปภาพที่มีคุณภาพสวยงาม ดูน่าเชื่อถือ จะเห็นได้ว่าเมื่อโจทย์เปลี่ยนองค์ประกอบทั้งหมดในโปรแกรมจะต้องเปลี่ยนไปตามโจทย์ด้วยเช่นกัน

สรุปว่า User Interface Design คือ ??

สรุปจากข้อมูลด้านบนที่กล่าวมา User Interface Design คือการออกแบบตัวกลางที่เชื่อมโยงผู้ใช้งานเข้ากับระบบที่เราพัฒนาขึ้น โดยเน้นไปที่ความสวยงามของหน้าตาโปรแกรมเป็นหลัก แต่ UI ในปัจจุบันต้องออกแบบโดยคำนึงถึงหลักการ UX ด้วย ถือว่าเป็น 2 สิ่งที่จำเป็นต้องทำร่วมกัน ถ้าคุณอยากมีโปรแกรมที่ดีมีผู้เชี่ยวชาญมาออกแบบ User Interface Design ลองดูผลงานออกแบบโปรแกรมของหลาย ๆ คน ที่ตอบโจทย์ตามความต้องการของคุณได้นะครับ

6 หลักการออกแบบ Application บนมือถือ

การออกแบบ Application เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยผู้ใช้งานในชีวิตประจำวัน ทุกคนต่างใช้มือถือกัน เนื่องจากสะดวก และรวดเร็วต่อการใช้งาน ทำให้ชีวิตประจำวันของเราง่ายขึ้น จึงทำให้หลายธุรกิจสร้างแอปขึ้นมา เพื่อตอบสนองกับลูกค้าให้ได้มากที่สุด วันนี้เรามีหลักการออกแบบแอปพลิเคชั่นมาบอก เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับหลายๆ คน

วิธีดีไซน์ Button UX/UI แบบมืออาชีพ

1. Make it Easy!

เข้าถึงง่ายเพียงปลายนิ้ว!

Thum Zone:

นิ้วโป้งเราสามารถแตะบนหน้าจอโทรศัพท์ได้แบบง่าย โดยปกติผู้ใช้งานจะใช้มือข้างเดียวเวลาเล่นมือถือ ดังนั้นควรออกแบบ ให้นิ้วโป้งสามารถไปแตะตรงปุ่มใช้งานได้อย่างง่ายดาย

2. Platform Guidelines

ออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์ม iOS และ Android ที่มีฐานผู้ใช้ที่แตกต่างกัน และขนาดที่แตกต่างกันตามแต่ละรุ่น

3. รูปแบบของมือถือ

ระวังการออกแบบ “บริเวณที่ไม่ปลอดภัย” (รอยบาก รูเจาะกล้อง ฯลฯ) สิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้ ผู้ใช้งานกดใช้งานแถบต่างๆของคุณได้ยาก ควรออกแบบให้ผู้ใช้งานเห็นชัด และกดใช้งานง่าย

4. ประเภทตัวอักษร และขนาด

การออกแบบ Application ควรคำนึงถึงรูปแบบของตัวอักษร และขนาดของตัวอักษรที่แตกต่างกัน สามารถกระตุ้นผู้อ่านได้ ให้รู้สึกว่าอ่านง่ายขึ้น เลือกตัวหนังสือที่ใช้งานได้หลายขนาด และปรับแต่งสไตล์ตัวอักษรได้ เพื่อผู้ใช้งานให้สามารถอ่าน และการใช้งานในทุกขนาด ใช้ขนาดตัวอักษรที่อ่านง่าย 

ขนาดของตัวหนังสือควรอยู่ที่ 11 points เป็นอย่างน้อย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านได้ ในระยะการดูปกติโดยไม่ต้องซูม

5. ลดการป้อนข้อมูลจากผู้ใช้ให้น้อยที่สุด

ลดความจำเป็นในการพิมพ์ของผู้ใช้งาน พยายามทำให้ง่ายที่สุดในการใส่ข้อมูล ที่คุณต้องการโยไม่ต้องพิมพ์ อาจจะมีตัวเลือกให้ผู้ใช้งานเลือกแทนการพิมพ์ ระบุทางเลือกเสริมในกรณีที่ผู้ใช้งานต้องการพิมพ์

6. Only 3 Click Rule!

ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงส่วนต่างๆ ของแอปได้โดยไม่เกินสามคลิก ทำแถบการใช้งานของคุณให้ใช้งานง่ายๆ เห็นแล้วเข้าใจ ผู้ใช้ไม่ต้องคอยกดไปมา หรือหาข้อมูลยาก ต้องกดหลายครั้ง

**ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลทุก ๆ แหล่งที่มา รวมไปถึงเจ้าของสื่อการเรียนรู้ทุกชิ้นเป็นอย่างสูง**